วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ศัพท์ยานยนต์ 1

A-Arm ตามความหมายก็คือ ส่วนที่เป็นแขนของระบบกันสะเทือนอิสระอย่างหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตัว "A" ที่มุมทั้งสามสามารถขยับขึ้นลงได้อย่างอิสระ จากจุดหมุนของขาและส่วนปลาย บ้างก็เรียกว่า "ปีกนก" ตามลักษณะการทำงานของมันมีทั้งตัวบนและตัวล่าง ใช้ได้กับกันสะเทือนหน้าและหลัง หากมีปีกนกคู่ก็จะเห็นคำว่า "Double Wishbone" อย่างที่ใช้อยู่ในรถ Honda นั่นเอง

ABS (Anti-Lock Brake System) มีใช้อยู่ในรถหลายทั่วๆ ไป เป็นระบบควบคุมการทำงานของเบรก ป้องกันไม่ให้เกิดอาการล็อคของล้อ เมื่อใช้เบรกอย่างรุนแรงหรือกะทันหัน ทำให้สามารถควบคุมรถให้อยู่ในเส้นทางและเกิดความปลอด ภัย การทำงานจะเป็นแบบ "จับ-ปล่อย" สลับกันหลายๆ ครั้ง ซึ่งนอกจากช่วยในการควบคุมรถบนทางตรงแล้ว ยังช่วยให้การเบรกหรือชะลอความเร็วขณะเข้าโค้งมีความ ปลอดภัยยิ่งขึ้นด้วย Active Safety หมายถึงระบบหรืออุปกรณ์และส่วนประกอบต่างๆ ที่มีส่วนช่วยให้การขับขี่เกิดความปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายๆ

Airbag ถุงลมนิรภัยที่ช่วยให้หน้าตากับทรวงอกของผู้ขับไม่เกิดอันตรายเมื่อเกิดการชนกระแทกด้านหน้าอย่างรุนแรง ปกติจะติดตั้งซ่อนอยู่ตรงกลางพวงมาลัย และมีใช้สำหรับผู้โดยสารด้วย นอกจากนี้ยังมีถุงลมนิรภัยสำหรับป้องกันด้านข้างติดตั้งในรถบางรุ่นอีกด้วย Balance Shafts บางคนเรียกว่า "เพลาถ่วงดุล" ซึ่งมันก็คือชาฟท์พิเศษที่ช่วยลดอาการสั่นกระพือของเครื่องยนต์ให้น้อยลง มีติดตั้งอยู่ในเครื่องยนต์ของรถหลายยี่ห้อ

Bead เป็นส่วนของยางรถที่สัมผัสกับขอบล้อ สำคัญมากกับยางประเภท "Tubeless" เพราะจะเป็นตัวทำหน้าที่เสมือน "ซีล" ป้องกันการรั่วไหลของแรงดันลมภายในไม่ให้เล็ดลอดออกมา

Blow-Off Valve อันนี้เป็นของเล่นสำหรับเครื่องยนต์เทอร์โบ เป็นวาล์วทางเดียวที่ทำหน้าที่ระบายแรงดันอากาศเมื่อ สูงกว่ากำหนด ออกไปภายนอก ทำหน้าที่คล้ายๆ กับ Wastegate ที่ระบายแรงดันไอเสียที่เกินความต้องการนั่นแหละ

Boost บูสท์หรือความดันบรรยากาศเสริมอัดเข้าสู่เครื่องยนต์ เทอร์โบหรือซุปเปอร์ชาร์จ สำหรับพวกรักความแรงทั้งหลาย

B-Post หรือ B-Pillar หมายถึงโครงเสากลางของรถนั่นเอง เอาไว้รองรับน้ำหนักหลังคาส่วนกลาง เพื่อความแข็งแรงในรถทั่วไป แต่สำหรับ รถฮาร์ดท็อปแล้วจะไม่มีเสากลางตัวนี้

Boxer คือเครื่องยนต์ที่มีลักษณะแบบ "Flat" หรือนอนยัน ลูกสูบจะขยับด้านข้างจากซ้ายไปขวา ซึ่งมีจุดศูนย์ถ่วงต่ำ และมีพลังดุเดือด ช่วยให้รถเกาะถนนได้ดีอีกด้วย

Brakerless Ignition หมายถึง "จานจ่าย" หรือระบบจุดระเบิดของรถยนต์ที่ไม่ใช้ทองขาว เป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เพราะไม่วุ่นวายต่อการบำรุงรักษา ใช้อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวควบคุม

Camshaft "เพลาลูกเบี้ยว" ที่ไม่ต้องการคำอธิบายมาก ในแคมหนึ่งแท่งจะมีลูกเบี้ยวติดกันอยู่หลายอัน สำหรับเป็นตัวกำหนดเวลาการเปิด-ปิดวาล์วไอดีและไอเสีย

Caster เป็นมุมที่วัดจากแกนบังคับเลี้ยว (หรือแนวของแกนสตรัท) กับแนวดิ่ง ปกติมักจะตั้งให้แคสเตอร์เป็นค่า + เพราะเมื่อแกนบังคับเลี้ยว (สตรัท) เอียงไปทางด้านหลังจะช่วยให้ทรงตัวดีขึ้น ล้อจะพยายามตรงไปข้างหน้าเสมอ สังเกตจากเวลาเลี้ยว ล้อจะหมุนกลับมาอยู่แนวตรงได้เอง

Cat หรือ Catcon หรือ Catalytic Converter "ระบบกรองไอเสีย" เพื่อลดปริมาณของมลพิษที่คายออกมาพร้อมกับไอเสียของร ถยนต์ หน้าตาคล้ายหม้อพักไอเสีย ภายในมีตัวกรองลักษณะคล้ายรังผึ้ง ส่วนมากทำมาจากเซรามิก มีให้ดูใต้ท้องรถรุ่นใหม่ๆ แทบทุกคัน

Direct Injection ชื่อนี้คุ้นหูกับพวกรถกะบะมากกว่า แต่เดี๋ยวนี้รถยนต์ก็มีการคิดค้นพัฒนามาใช้เหมือนกัน ความหมายคือ เป็นระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยหัวฉีด หากแต่เป็นการฉีดจ่ายน้ำมันเข้าไปในห้องเผาไหม้ในกระ บอกสูบโดยตรงเลย

DOHC (Double Over Head Camshafts) เรียกกันติดปากว่า "ทวินแคม" ใช้เพลาลูกเบี้ยวสองตัวแยกกันทำหน้าที่เปิดปิดวาล์ว โดยตัวหนึ่งจะเป็นฝั่งไอดี อีกตัวหนึ่งเป็นฝั่งไอเสียDamper ไม่ค่อยเรียกกันในหมู่ช่าง แต่จะคุ้นหูมากกว่าหากจะเรียกว่า โช๊คอัพ เป็นตัวหน่วงช่วยลดการเต้นของสปริง มีหลายแบบ หลายขนาด หลายราคา แล้วแต่จะเลือกใช้

DIN หน่วยวัดกำลังของเครื่องยนต์เป็นแรงม้า มาตรฐานของเยอรมัน ย่อมาจาก Deutsche Industrie Norman หรือ German Industrail Standards ทำการวัดกำลังเครื่องยนต์โดยติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ครบถ้วนตามปกติของการใช้งาน

Dry Sump อ่างน้ำมันเครื่องแบบแห้ง ใช้ในรถแข่งเป็นส่วนใหญ่ เพราะไม่มีปัญหาต่อการเร่ง เบรก สาดโค้ง ซึ่งอ่างน้ำมันทั่วไปอาจส่งน้ำมันไปหล่อเลี้ยงหล่อลื ่นเครื่องยนต์ไม่ทันหรือขาดช่วง ระบบนี้ใช้ภาชนะบรรจุน้ำมันเครื่องจากภายนอกและมีปั๊มดูดไปเลี้ยงเครื่องยนต์อีกต่อหนึ่ง มีผลทำให้วางเครื่องยนต์ไว้ต่ำกว่าปกติได้

ECU (Electronic Control Unit) ชุดควบคุมอิเลกทรอนิกส์ พบได้ในรถที่ใช้เครื่องยนต์หัวฉีดเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลที่ส่งมาจากเซนเซอร์ตามจุดต ่างๆ แล้วส่งคำสั่งไปตามวงจรให้ระบบต่างๆ ทำงานเหมาะสมกับข้อมูลนั้นๆ อย่างเที่ยงตรงแม่นยำ

ECT (Electronic Controlled Transmission) ระบบการทำงานของเกียร์อัตโนมัติที่ควบคุมด้วยอิเลกทร อนิกส์Engine Brake หมายถึงการเบรกชะลอความเร็วของรถ โดยใช้กำลังฉุดหน่วงของเครื่องยนต์กระทำแทนการเหยียบ เบรกโดยตรง เทคนิคนี้มาจากการ "เชนจ์เกียร์ลงต่ำ" แต่อย่าทำข้ามจังหวะ ประเภทมาเกียร์ห้าแล้วกระชากลงเกียร์หนึ่ง แบบนี้เกียร์กระจายลูกเดียว

Fastback เป็นลักษณะของรถยนต์ประเภทหนึ่ง ที่มีหลังคาลาดเอียงไปยังด้านท้าย โดยสามารถเปิดยกฝากระโปรงส่วนหลังในแนวเทลาดนี้ได้ทั ้งบาน เบาะหลังมักจะออกแบบให้พับเก็บได้ เพื่อเพิ่มเนื้อที่ในการบรรทุก เรียกได้อีกอย่างว่า แฮทช์แบค ลิฟท์แบค หรือสวิงแบค

Final Drive Ratio หรืออัตราทดเฟืองท้าย หาค่าได้ง่ายๆ โดยการชำแหละกระเปาะเฟืองท้ายออกแล้วนั่งนับฟันของเฟ ืองเพลากลาง (ตัวเล็ก) กับฟันของเฟืองเพลาท้าย (วงใหญ่) แล้วเอาค่าทั้งสองมาหารกัน หรือที่เรียกกันอีกอย่างว่า "เดือยหมูกับบายศรี" นั่นแหละ

GT คำย่อลักษณะรถประเภท Grand Touring ซึ่งเหมาะที่จะขับด้วยความเร็วสูงเป็นระยะเวลาต่อเนื ่องยาวนาน

Inter Cooler หน้าตาคล้ายกับหม้อน้ำรถ แต่ใช้ระบายความร้อนหรือลดอุณหภูมิของอากาศ ภายใต้ความดันหลังจากถูกอัดมาจากเทอร์โบก่อนเข้าห้อง เผาไหม้ มีสองแบบคือ ระบายความร้อนด้วยอากาศ หรือระบายความร้อนด้วยน้ำ

LSD (Limited-Slip-Differential) เป็นอุปกรณ์ที่ใส่เสริมเข้าไปในเฟืองท้าย โดยจะมีคลัทช์สำหรับจับล็อคเพลาขับทั้งสองข้าง เพื่อให้ล้อเกิดแรงขับเคลื่อนตลอดเวลา มีประโยชน์มากสำหรับรถประเภทขาลุยวิบาก

Muffer ชุดหม้อพักปลายท่อไอเสีย เดี๋ยวนี้มีของแต่งที่สามารถให้ผลทางเพิ่มกำลังม้า โดยมีเสียงไม่ดังเกินไปออกมาขายกันหลายยี่ห้อ

MPV (Muti Purpose Vehicle) เป็นคำย่อที่ใช้แทนความหมายของยานยนต์อเนกประสงค์ที่ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน

Muti-Valve เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็ใช้แต่เครื่องยนต์แบบนี้กันทั้งนั้น หมายถึงเครื่องยนต์ที่มีวาล์วมากกว่าสองตัวต่อหนึ่งส ูบ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่อง 12 วาล์ว 16 วาล์ว จนถึง 24 วาล์ว ก็ล้วนแต่อยู่ในข่ายด้วยกันทั้งสิ้น

N (Neutral) ตัวย่อของตำแหน่งเกียร์ว่างในระบบเกียร์อัตโนมัติ ที่ไม่มีการถ่ายทอดกำลังนั่นเอง

Oil Cooler ใช้เป็นตัวระบายความร้อนของน้ำมันหล่อลื่นคล้ายหม้อน้ำนั่นแหละ ยังมีที่ใช้สำหรับระบายความร้อนน้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้ายที่นิยมใช้ในรถแข่งอีกด้วย

Overhaul เจอคำนี้เมื่อไหร่ก็กระเป๋าแห้งทันที หมายถึง "การยกเครื่อง" แต่ไม่ได้เอาไปทิ้ง เขาเอาไปปรับปรุงสภาพให้กลับมามีความสมบูรณ์ใหม่อีกค รั้ง ซึ่งถือว่าเป็นการซ่อมใหญ่

Oversquare เป็นคำที่ใช้เรียกเครื่องยนต์ ที่มีขนาดของกระบอกสูบโตกว่าระยะช่วงชักของลูกสูบ

Oversteer คืออาการ "แหกโค้ง" นั่นเอง เกิดเพราะมุมลื่นไถลของล้อหลังมากกว่าล้อหน้า ในทางตรงข้ามจะเป็น Understeer หรืออาการ "หน้าดื้อโค้ง" เลี้ยวไม่เข้า อันนี้เป็นอาการของรถขับล้อหน้าเขาล่ะ

Passive Safety อันนี้เป็นระบบความปลอดภัยที่เตรียมไว้ช่วยบรรเทายาม เกิดอุบัติเหตุ ผ่อนเหนักเป็นเบา เช่น การออกแบบโครงสร้างนิรภัยของรถ ถุงลมนิรภัย ฯลฯ

Roll Cage โครงเหล็กเสริมป้องกันห้องโดยสารและตัวรถ ใช้ในรถแข่งที่เห็นเชื่อมติดกันเป็นโครงเต็มไปหมด ส่วน Rollbar ก็รวมอยู่ในหัวข้อนี้ด้วยเหมือนกัน

Sub Frame เป็นเฟรมที่ติดตั้งเข้าไปกับเฟรมหลักของรถยนต์ สามารถใช้รับห้องเครื่อง เกียร์ และช่วงล่างได้ แทนที่จะติดตั้งกับตัวถังโดยตรง ช่วยลดเสียงและการสั่นสะเทือนได้ดีอีกด้วย

ULP น้ำมันไร้สารตะกั่ว หรือ อัน-ลีด นั่นเอง ย่อมาจาก Unleaded Petrol ความหมายเดียวกับ Lead Free ที่อื่นเข้าใช้กันมาเป็นสิบๆ ปี แต่บ้านเราเพิ่งจะตื่นตัว

Variable Intake เป็นลักษณะการออกแบบทางเดินในช่องไอดี ให้มีขนาดความยาวต่างกัน โดยมีลิ้นเปิดปิดการทำงานที่สัมพันธ์กับรอบเครื่อง มีสูตรอยู่ว่ารอบต่ำทางยาว รอบสูงทางสั้น

ADD ( Automatic Disconnecting Differential ) การตัดต่อกำลังเฟืองท้ายหน้าอัตโนมัติ เป็นระบบที่สามารถเปลี่ยนการขับเคลื่อนจาก 2 ล้อเป็น 4 ล้อ หรือจาก 4 ล้อเป็น 2 ล้อได้โดยไม่ต้องหยุดรถ

AFS ( Adaptive Front-lighting System ) ระบบปรับมุมลำแสงไฟหน้าอัตโนมัติ ระบบจะทำหน้าที่ปรับมุมลำแสงไฟหน้าอัตโนมัติ โดยควบคุมการปรับจากเซ็นเซอร์ตรวจจับความสูง และเซ็นเซอร์ตรวจจับการนั่งของผู้ขับขี่และสัญญาณ การขาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งระบบจะควบคุมการปรับระดับไฟในขณะที่รถจอดอยู่กับที่หรือขณะวิ่ง

Automatic Headlight Beam Level Control ระบบปรับตั้งระบบแสงไฟใหญ่อัตโนมัติ ระบบจะทำหน้าที่ระบบปรับตั้งระบบแสงไฟใหญ่อัตโนมัติ โดยควบคุมการปรับจากเซ็นเซอร์ตรวจจับความสูง และเซ็นเซอร์ตรวจจับการนั่งของผู้ขับขี่และสัญญาณการขาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งระบบจะควบคุมการปรับระดับไฟในขณะที่รถจอดอยู่กับที่หรือขณะวิ่ง

BA ( Brake Assist ) ระบบเสริมแรงเบรก ระบบ BA จะทำงานในช่วงที่มีการเหยียบเบรกอย่างรวดเร็ว และจะช่วยเสริมแรงเบรกในกรณีที่ผู้ขับขี่เหยียบแป้นเบรกด้วยแรงที่ไม่เพียงพอ

CCS ( Cruise Control System ) ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ ระบบ CCS จะช่วยควบคุมรักษาระดับความเร็วของรถยนต์ให้อยู่ในระดับความเร็วที่ต้องการโดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง

Clearance Corner Sensor and Back Sonar สัญญาณเตือนสิ่งกีดขวางมุมเลี้ยวและถอยหลัง ระบบจะทำการตรวจสอบระยะด้านหน้าและหลัง ของวัตถุที่มากระทบโดยจะมีสัญญาณเสียงดังและไฟแสดงสถานะแสดงที่จอควบคุม

DIS ( Direct Ignition System ) ระบบจุดระเบิดโดยตรง ระบบ DIS คอยล์จุดระเบิดประจำแต่ละสูบ เพื่อช่วยให้การจุดระเบิดมีความเที่ยงตรงและลดการสูญเสียแรงดันไฟฟ้าแรงสูง

EBD ( Electronic Brake-Force Distribution ) ระบบกระจายทำการกระจายแรงเบรกระหว่างล้อหน้าและล้อหลัง เป็นไปอย่างถูกต้องตามสภาวะการขับขี่และในขณะเลี้ยวโค้ง EBD จะทำหน้าที่กระจายแรงเบรกล้อหน้าด้านซ้ายและขวา เพื่อให้เกิดความมั่นคง

EC Mirror (Electro Chromic Mirror) กระจกมองหลังปรับแสงอัตโนมัติ EC Mirror จะช่วยลดการลบกวนจากการสะท้อนของแสงไฟจากรถยนต์คันหลัง ระบบจะปรับลำแสงอัตโนมัติให้มองเห็นภาพที่กระจกมองหลัง มีความชัดเจนและสบายสายตายิ่งขึ้น

ECT PWR (Power Electronic Control Transmission) สวิทช์โหมด ECT PWR ระบบเกียร์อัตโนมัติ ECT PWR เกียร์จะเลื่อนขึ้น-ลง ที่ความเร็วสูงกว่าสถานะปกติ ซึ่งทำให้กำลังขับเคลื่อนมากกว่า เป็นระบบควบคุมการเร่งเครื่องยนต์โดยไม่ใช้สายคันเร่ง ซึ่งกาควบคุมการเร่งเครื่องยนต์จะถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ (ECU)

Engine Immobilizer System ระบบการยับยั้งการทำงานของเครื่องยนต์ ระบบยับยั้งการทำงานของเครื่องยนต์จะทำหน้าที่ตรวจสอบรหัสกุญแจจากแผ่นชิพที่ตัวกุญแจ หากรหัสถูกต้องก็จะสั่งให้เครื่องยนต์สตาร์ท

GOA ( Global Outstanding Assessment ) โครงสร้างนิรภัย GOA GOA คือ โครงสร้างนิรภัยของตัวรถยนต์ส่วนที่เป็นห้องโดยสารที่ถูกพัฒนาออกแบบให้มีความแกร่งขึ้นรวมทั้งตัวถังรถยนต์ ส่วนที่เป็นโครง สร้างด้านหน้าและด้านท้ายออกแบบให้มีการดูดซับแรงกระแทกจากการชน และถ่ายเทแรงกระแทกไปยังส่วนต่างๆของตัวรถ เพื่อลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับห้องโดยสาร

HID ( High Intensity Discharge) ไฟใหญ่หน้าแบบปล่อยกระแสไฟแรงสูง ไฟใหญ่หน้าแบบปล่อยกระแสไฟแรงสูง จะช่วยทำให้ลำแสงที่ปล่อยออกมามีแสงสว่างมากขึ้น ซึ่งช่วยให้การขับขี่ในเวลากลางคืนเห็นชัดขึ้น

Hydrophilic Surfaced Side Window กระจกมองข้างเคลือบสารป้องกันน้ำเกาะแบบ Hydrophilic สารเคลือบจะทำหน้าที่ช่วยลดการเกาะตัวของหยดน้ำที่กระจกขณะที่ฝนตก

In Car Navigation ระบบนำทาง ระบบจะทำหน้าที่ช่วยนำทางโดยผู้ใช้สามารถกำหนดจุดหมายปลายทางที่จะเดินทางระบบจะช่วยนำทางไปยังจุดหมายโดยอัตโนมัติ

Multi Information Display จอแสดงผลข้อมูลรวมทำหน้าที่แสดงข้อมูลการใช้งานเกี่ยวกับ 1.นาฬิกาและอุณหภูมิภายนอก ความเร็วเฉลี่ยของรถ 2. การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ย 3. การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง ขณะนั้น 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการขับขี่ 5. ระยะเวลาที่รถสามารถวิ่งได้อีก

Overdrive ( O/D ) Switch Momentary Type สวิทช์ควบคุม O/D แบบ Momentary สวิทช์ควบคุม O/D แบบ Momentary ทำหน้าที่เมื่อไม่ได้ออกจากเกียร์โอเวอร์ไดร์ฟไฟสถานะแสดงโชว์ ( O/D OFF ) และทำการดับเครื่องยนต์ขณะที่ไม่ได้เข้าเกียร์โอเวอร์ไดร์ฟ เมื่อสตาร์ทเครื่องใหม่เกียร์โอเวอร์ไดร์ฟก็จะทำงานเองโดยอัตโนมัติ ไม่มีไฟแสดงสถานะโชว์

Rain Sensor เซ็นเซอร์ควบคุมปัดน้ำฝนอัตโนมัติ ทำหน้าทีตรวจจับปริมาณน้ำฝน ระบบจะเริ่มทำงานทันทีที่ Sensor ตรวจจับน้ำฝนได้ โดยที่ความเร็วของการปรับน้ำฝนจะสัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝนที่ตกขณะนั้น

Smart Key Entry System ระบบสมาร์ทคีย์ ระบบสมาร์ทคีย์ จะช่วยในการล็อคปลดล็อคประตู โดยไม่ต้องใช้กุญแจหรือ ทำการล็อคด้วยการกดปุ่มสวิทช์ที่มือจับประตู

SRS Air bag System SRS Side Air bag System ระบบถุงลมนิรภัย ระบบถุงลมนิรภัยด้านข้าง ระบบถุงลมนิรภัยจะช่วยบรรเทาการบาดเจ็บของคนบาดเจ็บและผู้โดยสารตอนหน้า เมื่อประสบอุบัติเหตุโดยจะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับหน้าอกและศีรษะของคนขับและผู้โดยสารด้านหน้าและด้านข้าง ซึ่งจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัย

THS ( Toyota Hybrid System) ระบบไฮบริด เป็นระบบขับเคลื่อนรถยนต์โดยใช้เครื่องยนต์และมอเตอร์ร่วมกัน

TRC (Traction Control System) ระบบป้องกันล้อหมุนฟรี เป็น TRC จะช่วยป้องกันล้อหมุนฟรีในขณะเร่งเครื่องหรือพื้นถนนลื่น

TVSS (Toyota Vehicle Security System) ระบบป้องกันขโมย ระบบจะทำหน้าที่รับสัญญาณมาจากรีโมทควบคุม ซึ่งจะมีหน้าที่ล็อคปลดล็อคประตูและป้องกันการสตาร์ทรถยนต์ ซึ่งในกรณีใช้ระบบนี้ควบคุม เมื่อมีการโจรกรรมรถยนต์จะไม่สามารถสตาร์ทได้

V.N.T (Variable Nozzle Turbocharger) เทอร์โบแบบแปรผัน ระบบเทอร์โบที่แปรผันแรงอัดอากาศได้ตามสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์

VFD ( Vacuum Fluorescent Display Digital Center Meter) มาตรวัดแบบ VFD มาตรวัดแบบดิจิตอล ตัวเลขเรืองแสงช่วยเพิ่มทัศนะวิสัยในขณะการขับขี่

VSC (Vehicle Stability Control System) ระบบควบคุมการทรงตัวของรถยนต์ VSC เป็นระบบช่วยควบคุมเสถียรภาพทิศทางการทรงตัวของรถขณะเข้าโค้งไม่ให้เกิดการหลุดโค้ง ซึ่งจะทำหน้าที่สัมพันธ์กับระบบป้องกันล้อหมุนฟรี TRC และจะควบคุมความเร็วของเครื่องยนต์กับแรงดันน้ำมันเบรกแต่ละล้อ เพื่อให้รถเข้าโค้งและเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ต้องการ

VVT – I System (VVT- I, Variable Valve Timing – intelligent) ระบบวาล์ลควบคุมแปรผัน VVT–I เป็นระบบควบคุมการทำงานเปิด - ปิดของวาล์วไอดีของเครื่องยนต์ให้มีจังหวะการเปิด-ปิดที่เหมาะสมกับภาวะและความเร็วของเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น, ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง, ลดมลพิษ, รถยนต์มีอัตราเร่งที่ดีในยามขับขี่

Water Dispersing Side Window กระจกหน้าต่างคู่หน้าเคลือบสารป้องกันน้ำเกาะแบบ Water Dispersing สารเคลือบจะทำหน้าที่ช่วยลดการเกาะตัวของหยดน้ำที่กระจกขณะที่ฝนตก และเพิ่มทัศนะวิสัยและความปลอดภัยในการขับขี่

Wide View Outer Rear View Mirror กระจกมองข้างแบบ Wide View กระจกส่วนปลายออกแบบพิเศษ ให้มองเห็นด้านหลังได้กว้างไกลมากขึ้น และช่วยลดจุดบอดในการมองเห็นของผู้ขับขี่

Wireless Door Lock Remote Control System ระบบรีโมทคอนโทรล ระบบจะทำหน้าที่ควบคุมการล็อคประตู โดยอาศัยการควบคุมจากสวิทช์รีโมทและส่งคลื่นสัญญาณไปยังกล่องควบคุม เพื่อตรวจสอบรหัสในการปลดล็อคและล็อคประตู

Spark Plug - หัวเทียน

ไม่มีความคิดเห็น: